วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สื่อประเภทต่างๆ


1.สื่อสิ่งพิมพ์
ธรรมชาติของสื่อ
      คือ สื่อที่ใช้การพิมพ์เป็นหลักเพื่อติดต่อสื่อสาร  ทำความเข้าใจกันด้วยภาษาเขียนโดยใช้วัสดุกระดาษหรือวัสดุอื่นใดที่พิมพ์ได้หลายสำเนา  เช่น ผ้า แผ่นพลาสติก
ข้อเด่นของสื่อ
1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง
2. เลือกกลุ่มเป้าหมายได้
3. รวดเร็วทันสมัย ทันเวลา
4. ค่าใช้จ่ายถูก
5. เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ
6. สามารถส่งข่าวสารถึงกลุ่มเป้าหมาย หลายกลุ่มได้ในเวลาที่พร้อมกัน
7. สามารถออกแบบรูปแบบสื่อได้เต็มที่ เพราะไม่มีขีดจำกัดด้านเนื้อที่ ขนาด
8. สื่อมีอายุยาวนาน
9. มีความคงทนถาวร
10. มีความยืดหยุ่นสูง เพราะอาจเปลี่ยนแปลงเนื้อหา และงบประมาณของสถาบันได้ง่าย

ข้อด้อยของสื่อ
1. ไม่สามารถเข้าถึงผู้อ่านที่อ่านหนังสือไม่ออก หรือผู้สูงอายุที่สายตาไม่ดี
2. ผู้อ่านจะเลือกอ่านเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเขา
3. งบประมาณเป็นอุปสรรคในการจัดทำ
4. ยุบหรือเลิกง่าย
5. มีวัตถุประสงค์ไม่แน่นอน หรือขาดความรู้ที่น่าสนใจ
6. การเผยแพร่อยู่ในวงจำกัดเฉพาะกลุ่ม
ที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=commuram&month=16-11-2008&group=23&gblog=6
หลักการใช้สื่อ
       ตำรา  หนังสือ เอกสารประกอบการเรียนการสอนแต่ละวิชา ส่วนใหญ่จะบรรจุคำบรรยายการสอน จุดประสงค์การเรียนรู้หรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม คำขี้แจง คำแนะนำ เนื้อหา พร้อมด้วยแบบฝึกหัด ข้อทดสอบต่างๆ ไว้ ลักษณะเป็นรูปเล่มขนาดก็ต่างกันออกไปแล้วแต่การออกแบบ นอกจากนี้ยังมีวารสาร  นิตยสาร ที่สามารถนำเอาบทความ เรียงความ สารคดีดีๆ ที่มีเกร็ดความรู้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่สอนมาประกอบการเรียนรู้ให้แก่ผู้ เรียนได้เช่นกัน หรือจะเป็นภาพประกอบตัดลงมาแปะลงบนกระดาษแข็งใช้ ยกตัวอย่างประกอบได้ดี เช่น ภาพดอกไม้ สัตว์ วิวทิวทัศน์ คน และวัสดุหรือวัตถุต่างๆ เป็นแผนภูมิ แผนภาพ กราฟ ที่แสดงสถิติข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง แผนผังการเดินทาง แผนที่ เป็นต้น ภาพที่นำมาใช้ส่วนใหญ่จะไม่มีตำราเรียน (วรวิทย์ นิเทศศิลป์.สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้.ปทุมธานี:สกายบุ๊กส์,2551)
2.สื่อประเภทเครื่องฉาย
ธรรมชาติของสื่อ
       เป็น สื่อที่ช่วยกระตุ้นผู้เรียนให้ลงมือปฏิบัติโดยตรง เก็บประสบการณ์ และสามารถใช้วัสดุ อุปกรณ์ ในการทำงานตามคำสั่งของผู้สอนที่กำหนด หรือใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่ผู้เรียนอยากแสดงออกมาก็ได้ ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายเพราะเป็นของจริงที่สามารถจับและสัมผัสได้ สื่ออีกอย่างหนึ่งคือสื่อวัสดุที่ต้องอาศัยอุปกรณ์เป็นส่วนสำคัญในการแสดง เนื้อหาให้ปรากฏชัดเจนเข้าใจโดยรวม  (วรวิทย์ นิเทศศิลป์.สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้.ปทุมธานี:สกายบุ๊กส์,2551)
ข้อเด่นของสื่อ
1. สามารถขยายภาพถ่าย ภาพเขียนหรือ วัสดุทึบแสงให้เป็นภาพที่มองดูมีขนาดใหญ่ได้
2.ให้ลักษณะรูปร่าง  สีสัน  สวยงามตรงกับสภาพความเป็นจริง
3. สามารถปรับเปลี่ยนรูปภาพได้ตามความต้องการ
4.  สามารถใช้ประกอบกับเครื่องบันทึกเสียงในการผสมสัญญาณเสียงและภาพ เช่นเครื่องฉายสไลด์
5. ใช้สะดวกเก็บรักษาได้ง่าย
ข้อด้อยของสื่อ
1.  ต้องใช้ในห้องที่มืด
2.  เครื่องมีขนาดใหญ่ขนย้ายลำบาก 
3.  ผู้เรียนไม่มีบทบาทร่วมในการใช้อุปกรณ์   
4.ต้องใช้ไฟฟ้า
5.เก็บรักษายาก อาจชำรุดได้ง่ายเช่น หนามเตยของฟิล์มสตริป
http://learners.in.th/blog/sirikandarr/363672
หลักการใช้สื่อ
     ใช้ได้กับจำนวนผู้เรียนน้อยๆ จนถึงจำนวนมาก โดยบรรจุสาระเนื้อหาตามหลักสูตรที่กำหนด ผู้เรียนสามารถยืมไปเรียนเองที่บ้านได้โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่ จำนวนครั้งที่เรียน สื่อที่ใช้กันในปัจจุบันแต่มองข้ามความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือโทรทัศน์ นิยมชมกันมาก แต่ไม่ค่อยนิยมนำมาเป็นสื่อการเรียนการสอน เพราะในปัจจุบันนี้มีรายการดีๆ ที่มีคุณภาพมากมายหลายรายการแต่ครูก็มองข้ามไป หากมีโอกาสควรทำการบันทึกไว้ เช่น รายการสารคดี รายการสัมภาษณ์  (วรวิทย์ นิเทศศิลป์.สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้.ปทุมธานี:สกายบุ๊กส์,2551)
3.สื่อประเภทเสียง
ธรรมชาติของสื่อ
สื่อที่มีเฉพาะเสียง บรรจุเสียงพูด ดนตรีประกอบ และเสียงเอฟเฟ็กต์ต่างๆ รวมอยู่ในตลับที่เรียกว่าเทปคาสเซทโดยต้องอาศัยเครื่องเล่นเทปมาเปิดฟัง สามารถนำมาใช้กับบัตรคำ แผนภูมิ ชาร์ต ภาพชุด มีการอธิบายขั้นตอนการสาธิต การทำงาน การบรรยาย การปราศรัย เพื่อให้ผู้เรียนได้ฟังเพิ่มพูนความรู้ ในปัจจุบันมีรายการวิทยุกระจายเสียงที่กระจายอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ  (วรวิทย์ นิเทศศิลป์.สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้.ปทุมธานี:สกายบุ๊กส์,2551)   
ข้อเด่นของสื่อ
1. สามารถใช้กับกลุ่มเป้าหมายเป็นมวลชนจำนวนมากได้
2. ระยะกระจายเสียงกว้างและถ่ายทอดไปได้ในระยะไกล
3. ดึงดูดความสนใจของผู้ฟังและช่วยกระจายข้อมูลได้ในเวลาอันรวดเร็วมาก
4. สามารถใช้ได้โดยไม่จำกัดขนาดของกลุ่มและจำนวนผู้เรียน
5. เหมาะสำหรับการเรียนรู้กับทุกกลุ่ม
6. ต้นทุนการผลิตต่ำ
7. อุปกรณ์ราคาถูกและสามารถใช้กับแบตเตอรี่ได้ เช่น เทปบันทึกสียง
ข้อด้อยของสื่อ
1. เป็นการสื่อสารทางเดียวทำให้ไม่ทราบปฏิกิริยาของผู้ฟัง เช่นวิทยุ
2. การบันทึกเสียงที่คุณภาพดีจำเป็นต้องใช้ห้องและอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพสูง เช่นการบันทึกเทป
3. ถ้าเป็นเทปบันทึกเสียง ต้องมีความชำนาญในการตัดต่อเทป
หลักการใช้สื่อ
1. อ่านหรือพูดให้ชัดเจน ถูกอักขระวิธี
2. เปล่งเสียงที่เป็นธรรมชาติ
3. อ่านหรือพูดให้ตรงคำ ไม่เพี้ยนพยัญชนะ
4.สื่อประเภทกิจกรรม
ธรรมชาติของสื่อ
     สื่อกิจกรรม / กระบวนการ หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการที่ครูหรือผู้เรียนกำหนดขึ้นเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ การเรียนรู้  ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น การแสดงละครบทบาทสมมติ การสาธิต สถานการณ์จำลอง การจัดนิทรรศการ การไปทัศนศึกษานอกสถานที่ การทำโครงงาน เกม เพลง การปฏิบัติตามใบงาน ฯลฯ  (วรวิทย์ นิเทศศิลป์.สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้.ปทุมธานี:สกายบุ๊กส์,2551)
ข้อเด่นของสื่อ
1.    มีคุณค่าต่อสาธารณชนสูง
2.     สามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์ทางการสอนได้มากเช่นในบ้าน  ในท้องที่สาธารณะต่าง ๆ
3.     สามารถใช้สอนทักษะได้ดี
4.     กระตุ้นและเร่งเร้าให้มีการกระทำ  เนื่องจากการได้เห็น  การได้ยิน  การอภิปรายและการกระทำ
5.     เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาผู้นำขึ้น
ข้อด้อยของสื่อ
1.  จำเป็นต้องเตรียมการเบื้องต้นและฝึกปฏิบัติอย่างระมัดระวัง
2.   จำเป็นต้องอาศัยทักษะความชำนาญในเรื่องที่สาธิตและวิธีการ
3.   ถ้าหากมีผู้ชมจำนวนมากอาจมีอุปสรรค  ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
หลักการใช้สื่อ
1. คำนึงถึงความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและความเป็นไปได้ ความคุ้มค่าและความเหมาะสมกับผู้เรียน สังคม และวัฒนธรรม 
2.  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดขอบข่าย เนื้อหา และวัตถุประสงค์
3.กิจกรรมต้องตรงกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของบทเรียนที่กำหนดไว้
4.ให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน
5.สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออนไลน์
ธรรมชาติของสื่อ
        ใช้สายนำสัญญาณและใช้ซอฟแวร์จัดการให้ข้อมูลในเครื่องหนึ่งไปแสดงผลบนเครื่องอื่นได้ สื่อมัลติมีเดียก็ได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ และถูกนำไปใช้ในประโยชน์ใน ระบบเครือข่ายเล็กๆ (LAN) นั่นคือเริ่มใช้เป็นสื่อแบบออนไลน์ (online)  อาศัยสายสัญญาณที่เชื่อมโยงติดต่อกันนั้นนำข้อมูลมัลติมีเดียจาก เครื่องแม่ข่าย (server) กระจายไปแสดงผลที่ทุก เครื่องที่เป็น ลูกข่าย (clients) ใน เครือข่าย (network) 
ข้อเด่นของสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

เออ... มันคิดได้ แต่ก็จริงของมัน

วันนี้ได้รับเมล์ forword มาอ่านแล้วฮากระจาย ฮามากมายจนอยากให้คนอื่นได้อ่านบ้าง อ่านไปขำยิ้มไปใครๆก็ว่าบ้า...ก็ยังแอบคิดไปว่า เออ...เหมือนหัวเมล์ที่พิมพ์มาเลย มันคิดได้ไงเนี่ย...555

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

เพลงดีๆที่ฟังกี่ที่ก็ซึ้งใจ.......อยากให้คนไทยรักกันๆ(เพื่อพ่อหลวงของเรา)

รวมเป็นไทย 
ศิลปิน : เสก โลโซ

เราไม่ต่างกันเลย ไม่ว่าจะเกิดที่ไหน  จะชั้นนายหรือไพร่ เราก็ไทยทุกคน

อยู่แผ่นดินเดียวกัน ไม่ว่าจะรวยหรือจน   พ่อหลวงของปวงชน ท่านรักเท่าเทียมกัน

* หน้าที่ของเรา คือตอบแทนแผ่นดิน   มีอยู่ มีกิน เพราะรักจากเหนือหัว

คิดถึงส่วนรวม อย่าคิดถึงแต่ตัว    แผ่นฟ้าจะมัว หากแยกแตกกัน

** รักกันเถิด เรารักกัน   เธอกับฉัน คือพี่น้องไทย

สานสัมพันธ์ 60กว่าล้านหัวใจ    จับมือกันไว้ ให้เป็นหนึ่ง

รวมให้เป็นหนึ่งเดียว รวมให้เป็นใจเดียว ..รวมเป็นไทย

จะแบ่งข้างทำไม เปิดใจค่อยๆคุยกัน  คิดให้สร้างสรรค์ ทำเพื่อลูกหลานไทย

รักคือสิ่งดีงาม รักคือคำตอบสุดท้าย   พ่อหลวงคือหัวใจ ให้ประเทศไทยสุขกลับคืน
( * , ** )
 
รวมให้เป็นหนึ่งเดียว       รวมให้เป็นใจเดียว    รวมเป็นหนึ่ง รวมใจ 
       
*** รักกันเถิด เรารักกัน   เธอกับฉัน คือพี่น้องไทย

สานสัมพันธ์ 60กว่าล้านหัวใจ    จับมือกันไว้ ให้เป็นหนึ่ง
(*** , ***)

รวมให้เป็นหนึ่งเดียว รวมให้เป็นใจเดียว  รวมเป็นไทย 

รวมให้เป็นหนึ่งเดียว รวมให้เป็นใจเดียว  รวมเป็นไทย รวมเป็นไทย รวมเป็นไทย รวมเป็นไทย 
http://www.youtube.com/watch?v=pI2U48Z5P2k

ความน่าเบื่อของชีวิต

...วันนี้เป็นวันที่มีความรู้สึกว่าชีวิต วุ่นวายมากเหลือเกิน..เหนื่อยกับงานแล้วยังต้องฝืนลุกขึ้นมาเรียนในตอนเช้า แต่ก็ยังมีสิ่งที่ทำให้มีความรู้สึกสบายใจขึ้นได้อีดนิดคือ วันนี้วิชาeng ปิดคอร์สแล้ว ทำให้เรามีเวลาไปทำงานวิชาอื่นที่ยังเหลือค้างอีกมากมายหลายวิชา  และต้องเตรียมพร้อมเพื่ออ่านหนังสือสอบปลายภาคอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความสุขเล็กๆ

 เป็นระยะเวลานานหลายปีแล้วเราแทบจะลืมความรู้สึกของการเป็นนักเรียน  การได้เข้าเรียน ทำการบ้าน ส่งรายงาน เช็คชื่อ โดดเรียนและการลุ้นผลสอบที่น่าตื่นเต้น คิดแล้วก็สนุกดีเหมือนกัน การที่มีเพื่อนเยอะๆ เฮฮาปาร์ตีื้ หรืการรวมหัวกันลอกการบ้านก็สนุกดีเหมือนกันนะ แต่การที่ต้องเรียนควบคู่กับการทำงานนั้นมันเหนื่อยมาก แต่เราก็ดีใจที่ได้เข้ามาเรียนที่นี่ กว่าจะได้เป็นนิสิตม.บูรพาก็ลุ้นแทบแย่ว่าจะสอบติดหรือเปล่า 
เพราะคณะศึกษา เอกเทคโนคอมฯมีคนสมัครเยอะมาก แต่เราก็ฝ่าฟันมากได้ 555 การได้มีเพื่อนใหม่ๆ เรียนรู้นิสัยใจคอซึ่งกันและกันก็สำคัญ เพราะเราต้องเรียนร่วมกันไปอีกหลายปี ต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันไว้ หวังว่าเราจะเรียนสำเร็จออกไปได้อย่างที่หวังน๊าาา.... สู้สู้
 Buu.EDU.Thechno'53 ลลิตา ครามสายออ 53540128